3. การจัดการการตลาด

            นักการตลาดมีการพัฒนาแนวความคิดในการบริหารจัดการการตลาดในหลายรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตลาดในแต่ล่ะวงเวลา  ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

                        3.1 แนวความคิดทางด้านการผลิต (Production concept) เป็นแนวคิดที่มองว่า ลูกค้าต้องการสินค้าที่มาราถูกสามารถหาซื้อได้สะดวก ดังนั้น องค์กรจึงให้ความสำคัญกับ
            การผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีราคาต่ำกว่าคู่แข่งในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

                        3.2 แนวความคิดทางด้านผลิตภัณฑ์ (Product concept) เป็นแนวคิดที่มองว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับ
            คุณภาพของสินค้า ดังนั้น องค์กรจึงมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าปรับปรุงคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่อง

                        3.3 แนวความคิดทางด้านการขาย (Selling concept) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำการตลาดที่มุ่งเน้นการขายสินค้าให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ เป็นเพราะสภาพ
            ของการตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง ดังนั้น องค์กรจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการตลาดต่างๆ ให้กับลูกค้าเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า

                        3.4 แนวความคิดทางด้านการตลาด (Marketing concept) เป็นแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดโดยเริ่มจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งแตกต่างกับสาม
            แนวคิดก่อนหน้าที่เป็นแนวคิดที่มองภาพจากภายในองค์กรสู่ภายนอกเป็นการอาศัยมุมมองของบริษัทเองมากำหนดและพัฒนาสินค้า แต่แนวคิดที่สี่นี้ องค์กรให้ความสำคัญกับ
            ภายนอกคือลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความ
            ต้องการนั้นนอกเหนือไปจากองค์กรจะมุ่งเน้นการนำเสนอสินค้าและบริการที่เหนือกว่าและแตกต่างกว่าคู่แข่ง เพราะเชื่อว่าหากลูกค้าไม่พึงพอใจกับสินค้าหรือบริการแล้วโอกาส
            ที่ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือรับบริการอีกมีน้อยมาก

            4. การจัดการการผลิตและบริการ

            กลยุทธ์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กรและสอดคล้องกับค่านิยมร่วมแห่งองค์กร จะมีส่งผลให้องค์กรนั้นโดดเด่น มีสุขภาวะที่ดี เปรียบเสมือนร่างกายที่แข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้ตามการสั่งงานของสมองและหัวใจ ตัวอย่างเช่น กลยุทธ์ธุรกิจที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี ก็พึงมีกลยุทธ์ธุรการดำเนินงานที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้นำทางเทคโนโลยี

            หากพิจารณาตัวอย่างด้านค่านิยมร่วมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม กลยุทธ์การดำเนินงาน และกิจกรรมก็ควรมีการสนับสนุนให้พนักงานงานดำเนินงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงงาน การวางแผนและตัวชี้วัดด้านการดำเนินงานต้องส่งเสริมให้เกิดการลดการใช้พลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดมุ่งเน้นกระบวนการผลิตที่ประหยัด

            5. การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

            ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจทั่งโลกมีการเติบโตและการแข่งขันสูง การที่องค์กรจะแข็งแกร่งและมีความยั่งยืนอยู่ได้นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจคือ การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการการมุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ การเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตรวมทั้งการต่อยอดสร้างธุรกิจใหม่อย่างสม่ำเสมอ

            องค์กรในประเทศไทยมักเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม เช่น ต้นทุนของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สูง การขาดความสนับสนุนจากผู้บริหาร ความเสี่ยงด้านอุปสงค์ การขาดบุคลากรที่มีทักษะ ความยากในการแสวงหาแหล่งเงินทุน ปัญหาการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ การขาดการอบรมบุคลากรภายในหน่วยงานที่เพียงพอ ความไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของพนักงาน ความไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร การขาดการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การขาดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม การขาดข้อมูลทางการตลาดและด้านเทคโนโลยีที่ถูกต้องชัดเจน การขาดความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกจึงทำให้องค์กรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ยังไม่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนานวัตกรรมเท่าที่ควร

            6. การจัดการการเงินลงทุน

            ในการจัดหาเงินทุนนั้น ‘การอดเปรี้ยวไว้กินหวาน’ เปรียบได้กับการยับยั้ง ชั่งใจ ไม่กู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศมาเป็นจำนวนมาก มุ้งเนินในผู้บริหารนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งค่านิยมการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน จะลดความเย้ายวนของการลงทุนแบบฉาบฉวยเพื่อผลกำไรในระยะสั้น
หัวใจหลักของการจัดการการเงินและการลงทุนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ ไม่ทำกำไรระยะสั้น แม่มองการณ์ไกลไปในระยะยาว หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่จะต้องมีแผนการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หรือหากขยายกิจการก็มักเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อน เช่น การส่งสินค้าไปทดสอบตลาดว่า สินค้าเป็นที่พอใจของผู้บริโภคหรือไม่ หากกระแสตอบรับเป็นไปด้วยดีจึงค่อยสร้างโรงงานต้นแบบขนาดเล็ก จนกระทั่งเมื่อมั่นใจแล้วว่าสินค้าที่เป็นที่นิยมของตลาดจึงจะลงทุนขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังผลิต

            แนวทางปฏิบัติในการจัดการการเงินและการลงทุน

                        1.ธุรกิจสามารถรักษาผลประกอบการทางการเงินให้อยู่ในระดับที่สามารถอยู่รอดได้
            แม้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
                        2. ธุรกิจไม่มุ่งเน้นตีราคาเพื่อโจมตีตลาดของคู่แข่ง
                        3. ธุรกิจใช้ยุทธศาสตร์การลงทุนที่เกิดจากความเข้าใจในแนวโน้มระยะยาว
                        4. ธุรกิจระมัดระวังรักษาเสถียรภาพของอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น อัตราส่วน
            กำไรต่อต้นทุน อัตราส่วนหนี้ต่อทรัพย์สิน
                        5. ธุรกิจมีนโยบายปันผลกำไรเพื่อนำไปใช้ในโครงการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม


            7. การจัดการความเสี่ยง

            การจัดการความเสี่ยงบนพื้นฐานความยั่งยืนขององค์กรช่วยให้สามารถวิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆ ได้เป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น และส่งผลดีต่อการบริหารการเงินขององค์กรนอกจากนี้ การจัดการความเสี่ยงที่เน้นถึงความสำคัญของความยั่งยืนขององค์กรยังช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมและความก้าวหน้าให้กับองค์กรนับเป็นการสร้างชื่อเสียงและสร้างคุณค่าขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆ ฝ่าย ความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

                        7.1 ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ (Strategic risk) เกิดจากองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ของการนำธุรกิจที่สามารถส่งผลกระทบต่อความล้มเหลวในการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์องค์
            ประกอบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนและความอยู่รอดขององค์กรได้แก่ การตัดสินใจทางธุรกิจที่ผิดพลาด ความขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินกลยุทธ์
            หรือการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไร้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงความล้มเหลวขององค์กรในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจอีก
            ด้วย ในการจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์นั้น ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุแห่งความผิดพลาด ไปพร้อมๆ กันกับการให้ความสำคัญใน
            การคาดการถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปด้วยดีอีกด้วยเพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างถาวร

                        7.2 ความเสี่ยงในการดำเนินงาน (Operational risk) เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเช่น ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติต่างๆ หรือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิภาค ซึ่งอาจส่งผล
            กระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ให้การดำเนินงานขององค์กรต้องหยุดชะงัก นอกจากนี้การเพิ่ม จำนวนประชากร ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายทรัพยากร
            ธรรมชาติอื่นๆ อาจำให้ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงานขององค์กรหมดไปอย่างรวดเร็ว และจะส่งผลกระทบ โดยตรงต่อความเสี่ยงในการดำเนินงาน องค์กรจึงควรมีการ
            กำหนดมาตรการรับมือกับความเสี่ยงในการดำเนินงานไว้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้การดำเนินงานขององค์กรต้องหยุดลง หากองค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะ
            เผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยใดๆ ก็ตาม จะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร เป็นตัวกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการอีกทางหนึ่งสร้างความภักดีต่อสินค้า
            และบริการจากลูกค้า ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรอีกด้วย

                        7.3 ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic risk) ที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร เกิดจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งภายนอกองค์กร (ระดับภาคและระดับ
            จุลภาค) และภายในองค์กรเอง ถึงแม้ว่าปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจจากภายนอก เป็นสิ่งที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ แต่องค์กรสามารถจัดการความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเพื่อ
            ให้ เกิดความยั่งยืนได้ โดยการจัดการปัจจัยภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสามารถผลิตสินค้าและบริการอย่างมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรงตามความต้องการของ
            ตลาด มี ระบบการจัดการโดยเฉพาะด้านการเงินที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินในการลดต้นทุนการดำเนินงาน การขยายการลงทุนทุกประเภท
            เช่น การเพิ่ม ประเภทของสินค้าและการบริการ หรือการเข้าไปลงทุนในประเทศใหม่ๆ หรือตลาดที่ไม่คุ้นเคย เป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีการพิจารณาปัจจัยทางการเงิน-การ
            ลงทุน เช่น การ หมุนเวียนของเงินทุนอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรสามารถสร้างกำไรได้ในทุกสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจถดถอย

                        7.4 ความเสี่ยงทางสังคม (Social risk) การดำเนินงานขององค์กรทุกประเภท ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน
            ลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ หรือประชาชนในพื้นที่ที่องค์กรนั้นๆ ตั้งอยู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดขององค์กรการจัดการความเสี่ยงทางสังคมเพื่อความ
            ยั่งยืน ขององค์กรควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมมือใน กิจรรมหรือการดำเนินงานขององค์กร ร่วมรับผลประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของ
            องค์กร มีระบบ การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กรที่โปร่งใส มีธรรมาภิบาล เพื่อให้แน่ใจได้ว่าความคิดเห็นหรือมุมมองทางสังคมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถูกนำมาปฏิบัติให้เกิด
            ประโยชน์ต่อการ ดำเนินงานขององค์กรอย่างสูงสุด โดยเฉพาะในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร อันเป็นการแสดงถึงความสำคัญกับคุณค่าของความเป้นมนุษย์
            ในทุกระดับ

 


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting