การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง :ภาคธุรกิจ

            วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจหันมาทบทวนแนวทางการดำเนินกิจการในยุคโลกเสรี แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นแนวคิดที่ภาคธุรกิจนำมาปรับปฏิบัติเพื่อปรับระดับประคองธุรกิจ กระทั่งใช้ปรับวิธีคิด ตั้งหลักการทำธุรกิจใหม่ ผู้ประกอบการธุรกิจที่นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้นั้น ปรากฏในทุกขนาดของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ บางธุรกิจก็ดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาก่อนแล้ว แต่เศรษฐกิจพอเพียงทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น หลายธุรกิจจึงปรับตัวรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในเศรษฐกิจเสรีปัจจุบันนี้ การบริหารธุรกิจสมัยใหม่หันมาเน้นในเรื่องความยั่งยืน ความสมดุล และความมั่นคง

            ธุรกิจควรจะทำอย่างไรจึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

            การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายประการ ทั้งความรู้ เงินทุน คน เครื่องจักร ปัจจัยของธุรกิจ คือ มีเงินทุน มีคนมีกระบวนการ และมีลูกค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ธุรกิจมีผลกำไรเพียงพอที่จะอยู่รอดได้ เพราะฉะนั้นการดำเนินธุรกิจในอดีตที่ผ่านมาจึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการปัจจัยดังกล่าวข้างต้นให้เกิดผลและประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในระยะหลัง เริ่มมีการขยายแนวความคิดและมีความตระหนักว่าธุรกิจไม่ได้มีเพียงแต่พนักงาน กระบวนการ เงินทุน และลูกค้าเท่านั้นแต่ยังต้องมีการดูแลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย อาทิ ธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็จะต้องมีทั้งผู้ถือหุ่นรายใหญ่ ผู้ถือหุ่นรายย่อย และต้องมีการกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรม ความโปร่งใสอีกด้วย นอกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในองค์กรธุรกิจแล้ว ยังบุคคลภายนอกที่ธุรกิจจะต้องเกี่ยวข้องด้วย เช่น คู่ค้า คู่แข่งขัน ชุมชน สังคมโดยส่วนรวม ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นธุรกิจจึงไม่สามารถดำเนินงานได้โดยปราศจากการคำนึงถึงบุคคลเหล่านี้ และเริ่มมีความคิดขยายวงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าวมากขึ้น โดยจะทำอย่างไรถึงจะมีเหตุผล มีความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมในการดำเนินงาน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องของกระบวนการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ การตัดสินใจในการบริหารธุรกิจอาศัยความรู้ ทั้งบริหารการเงินให้ได้กำไรหรือบริหารสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งสำคัญที่สุดความรู้ต้องควบคู่คุณธรรมในทุกเรื่อง หากมีเพียงความรู้ แต่ขาดคุณธรรม การตัดสินใจที่จะเป็นเหตุผล ความพอประมาณ และภูมิคุ้มกันต่างๆ หรือความเสี่ยงต่างๆ ผลที่จะเกิดขึ้นคือ การจัดการจะไม่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบหรือความยุติธรรม ในด้านของการกำกับดูแลผู้ถือหุ้นก็จะไม่เกิดความเป็นธรรมธุรกิจเป็นการบริหารการจัดการ เรื่องการเงิน เรื่องลูกค้าก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพทำให้เกิดผลผลิตที่ดี นำไปสู่ผลตอบแทนคือผลกำไร เพราะฉะนั้นการจัดการก็มุ่งดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ส่วนการกำกับดูแลจากคณะกรรมการ

            ไม่ว่าจะทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในส่วนที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนความรับผิดชอบต่อกลุ่มบุคคลภายนอก ลูกค้า แข่งขัน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ก็เป็นกลุ่มที่ต้องมีความรับผิดชอบ มิฉะนั้น ธุรกิจก็จะขาดการสนับสนุน ซึ่งในที่สุดธุรกิจก็จะอยู่ไม่ได้ ไม่มีความยั่งยืน ในส่วนเหล่านี้ทั้งหมดก็เป็นกระบวนการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ โดยอาศัยความรู้ อาศัยคุณธรรม โดยใช้เหตุผล ความพอประมาณ และภูมิคุ้มกันก็เพื่อทำธุรกิจให้มีความยั่งยืนความสมดุล

            องค์กรธุรกิจไม่ใช่เป็นองค์กรที่เป็นตัวโครงสร้างตัวอาคาร สถานที่ แต่จำเป็นต้องสร้างจิตวิญญาณให้แก่ธุรกิจให้แก่คนที่อยู่ในธุรกิจ ธุรกิจถึงจะสามารถยืนอยู่ด้วยความมั่นคงและยั่งยืน สิ่งเหล่านี้จะมองเห็นได้เมื่อสร้างจิตวิทยาในเรื่องต่างๆ ให้แก่ธุรกิจ นั่นก็คือ การน้อมนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั่นเอง

            ความแตกต่างของ CSR กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

            ในภาคธุรกิจมีการกล่าวถึงและให้ความสำคัญกันมากในเรื่องของ ธรรมาภิบาล (Good Governance) บรรษัทภิบาล  (Corporate Governance) และความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsidility: CSR) แต่บางครั้งยังทำกันโดยขาดจิตวิญญาณ หรือทำเพียงเพราะความคิดว่าเป็นเรื่องของประชาสัมพันธ์ หรือทำเพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไม่มีความสามรถที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงหรือมีความยั่งยืน เพราะขาดคุณธรรมเหล่านี้

            ปัจจุบัน แนวความคิดในการบริหารธุรกิจได้เปลี่ยนไปแนวความคิดสมัยใหม่ของการบริหารธุรกิจที่มาจากชาติตะวันตกกล่าวถึงแค่เรื่อง CSR ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของจิตวิญญาณในการขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องความรู้และคุณธรรมที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการใช้เหตุผล ความพอประมาณ และการดูแลเรื่องความเสี่ยง ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่เป็นกรอบที่ครอบกระบวนการตัดสินใจทั้งหมดของการบริหารธุรกิจก็คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินธุรกิจตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

            ใน พ.ศ. 2547 วิทยาลัยการจัดการ มหาลัยมหิดลได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และมูลนิธิมั่นพัฒนา เพื่อศึกษาองค์กรธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและใช้คลับเคลื่อนในภาคธุรกิจของประเทศ โดยดำเนินการวิจัยดังกล่าวภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสรุปแนวทางได้ดังนี้

            ธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

            จะเน้นการสร้างองค์กรธุรกิจที่มีความรับผิดชอบในการรักษาและพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง ไม่เน้นการทำกำไรสูงสุดในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว ซึ่งในที่สุดแล้วองค์กรธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถอยู่ร่วมกับส่วนอื่นๆ ของ สังคมได้อย่างมีความสมดุลและยั่งยืน โดยการดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามสายงานดังกล่าวได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

            1. การจัดการวัฒนธรรมองค์กร

            หัวใจสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรคือ ค่านิยมร่วมแห่งองค์กร ซึ่งเป็นแก่นวิธีคิด ความเชื่อ หรือหลักการสำคัญที่กำหนดขึ้นมาโดยผู้ก่อตั้งหรือสมาชิกรุ่นต่อๆ มาขององค์กรส่งผ่านจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยให้สมาชิกทุกคนยึดถือเป็นหลักสำคัญ เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ค่านิยมเรื่องความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหรือการพัฒนาวัตกรรมใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าเร็วกว่าคนอื่นตลอดเวลาหรือค่านิยมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และให้สมาชิกทุกคนในองค์กรนำค่านิยมเหล่านั้นมาประยุกต์และปรับใช้ในทุกๆ เรื่องในการทำงานและการตัดสินใจต่างๆ ประจำวัน

            2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์

            หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการบริการทรัพยากรมนุษย์คือ การบริหารคนโดยเน้นองค์รวม คือการให้ความสำคัญต่อการพิจารณาเชิงลึกในปัจจัยด้านต่างๆ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของพนักงานส่วนใหญ่ประกอบการบริหารด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการทางงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องการระเบิดจากข้างใน การบริหารทรัพยากรมนุษย์นอกจากจะพิจารณาเรื่องความรู้และทักษะของพนักงานแล้ว องค์กรควรพิจารณาจัดการด้านทศนคติ จิตใจและค่านิยมที่ตรงกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งความซื่อสัตว์จริยธรรม ความเพียน การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เช่น ในกระบวนการคัดเลือกพนักงาน องค์กรควรพิจารณาเรื่องค่านิยม การฝึกอบรมก็จะพิจารณาทั้งด้านองค์รวม ความรู้ทักษะและทัศนคติที่เกี่ยวกับการทำงานและทักษะการดำเนินชีวิตการดูแลพนักงานก็พิจารณาภาพรวมทั้งด้านการทำงานและด้านที่เดี่ยวกับชีวิต โดยเน้นการมีส่วนร่วมและการฟังความคิดเห็นของพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีความเต็มใจที่จะทำงานให้กับองค์กรและช่วยเหลือองค์กรเมื่อเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ต่างๆ


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting