เศรษฐกิจพอเพียง…จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ

            ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ  และ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ  และ สังคมแห่งชาติมีแนว คิดที่จำนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางใหม่  ในการพัฒนาประเทศ  เนื่องจากปัญหาความไม่สมดุลในการพัฒนา  โดยเฉพาะการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ย้ำให้เห็นว่า  แนวทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาของไทยยัง  ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ยั่งยืนและสมดุลได้  จึงจำเป็นต้องหาแนวทางใหม่  ในการพัฒนาประเทศซึ่งเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบที่เหมาะสม ทำให้เราหลีกเลี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจได้ เพื่อให้มีความชัดเจนในความหมายของปรัชญา เพื่อการทำแผน และทำให้การดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างมี  ทิศทางเดียวกัน  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ  และสังคมแห่งชาติจึง ได้ตั้งคณะทำงานโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ  ร่วมกันประมวล และกลั่นกรองพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อสังเคราะห์ความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  จากการประมวลพระราชดำรัสเกี่ยวกับ การพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อเป็นแนวคิดใหม่ใน การพัฒนาประเทศ คณะทำงานได้สรุปเป็น หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และได้รับพระบรมราชานุญาตใช้กรอบมน  การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ  และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และฉบับที่ 10

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1. กรอบแนวคิด
            เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย  สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มุ้งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคง  แลความยั่งยืนของการพัฒนา 
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 

2. คุณลักษณะ
            ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมๆ กัน ดังนี้

                        2.1 ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานนะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น
            ไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
                        2.2 ความมีเหตุผล (Reasonableness) หมายถึง การตัดสินใจการดำเนินการอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักคุณธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดย คำนึง
            ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถื่ถ้วน รู้จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ รู้เขารู้เรา รู้จักเลือกนำสิ่งที่ดีและเหมาะสมสมมาประยุกต์ใช้
                        2.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (Self-immunity) หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากทั้ง
            ในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยง ปรับตัวและรับมือ ได้อย่างทันท่วงที

3. เงื่อนไข
            การจัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 
                        3.1 เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จำนำ ความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อ
            ประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                        3.2 เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย ความตระหนัก ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

4. แนวทางการปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            คือ การพัฒนาที่สมดุลละยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ครอบคลุมมิติในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในสังคมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
                        4.1 มิติด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกิน เน้นความขยันหมั่นเพียร ประกอบสัมมาอาชีพเพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง พ้นจากความยากจน             ซึ่งการปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น มีชีวิตที่สุขตามอัตภาพ พ้นจากการเป็นหนี้ มีครอบครัวและเป็นสุข
                        4.2 มิติด้านจิตใจ เศรษฐกิจพอเพียงเน้นที่จิตใจที่รู้จักพอดี พอประมาณ และพอใจในสิ่งที่มี ยินดีกับสิ่งที่ได้ ไม่โลภมาก เศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องเริ่มที่ตัวเองสร้าง
            รากฐาน ทางจิตใจที่มั่นคง รู้จักพอ เดินทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา
                        4.3 มิติด้านสังคม เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดสังคมที่มีความสุขสงบ ประชาชนต้องมีความเมตตา เอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมสร้างความสามัคคี เพื่อให้ทุกคน
            อยู่ร่วมกันได้โดยปราศจาการเบียดเบียนกัน เอารัดเอาเปรียบมุ่งร้ายทำลายกัน
                        4.4 มิติด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมหรือวิธีชีวิตที่ประหยัด อดออม มีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุนิยมและบริโภค
            นิยมซึ่งก่อให้เกิดการเป็นหนี้เป็นสิน เกิดจากทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาสังคมร้ายแรงที่บ่อนลายความมั่นคงของชาติ

 


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting