หลักปรัชญาเศรษบกิจพอเพียงบนสื่อสังคมออนไลน์

            โลกในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสูง เราสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้มากมาย และผู้คนทั่วไปก็สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างง่ายดาย เมื่อรูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปการลงมือทำในการลงมือทำในแบบเดิม ๆ จึงอาจไม่ได้ผลลัพธ์แบบเดิมอีกต่อไป สินค้าหลากหลายมากมายถูกผลิตออกมาสู่ตลาด และผู้บริโภคก็สามารถที่จะเลือกซื้อได้ง่ายดายผ่านอินเทอร์เน็ต การแข่งขันทางด้านราคาจึงไม่ใช่ความยั่งยืนในการทำธุรกิจของยุตนี้อีกต่อไป เพราะการลดราคาก็ย่อมมีขีดจำกัด แต่การนำธุรกิจด้วยความคิด ไอเดีย และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างคุณค่าแก่ผู้คน พัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่างหากที่จะช่วยให้ธุรกิจแตกต่างและโดดเด่นในตลาดได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะมุ่งหน้าสู่ยุค 4.0 ผู้ประกอบการในประเทศไม่ว่าจะในธุรกิจด้านไหน ก็ต้องเปลี่ยนแนวคิด เปิดมุมมองใหม่ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งมองหาเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น ประเทศจึงต้องปรับตัวและมุ่งหน้าสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 เพื่อขับเคลื่อนสู่ความก้าวหน้าใหม่ ๆ ที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในประเทศ ปัจจุบัน มีหน่วยงานและธุรกิจหลายกลุ่มที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม โดยใช้สื่อออนไลน์และโซเซียลมีเดียในการเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวงกว้าง อาทิ

เว็บไซต์ธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียง

            มูลนิธิมั่นพัฒนา และวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาละยมหิดล ได้ร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์ www.sed.cm.th ซึ่งรวบรวมข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับองค์ความรู้ในการบริหารองค์กรธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ง่าย ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จประมินทรมหาภูมพลอดุลยเดช บรมนาถบพิดร โดยเน้นการสร้างองค์กรธุรกิจที่มีความรับผิดชอบในการรักษาและพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่องไม่เน้นการทำกำไรสูงสุดในระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในที่สุดแล้วองค์กรธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถอยู่ร่วมกับส่วนอื่น ๆ ของสังคมได้อย่างมีความสมดุลและยั่งยืน

            เว็บไซต์นี้เกิดขึ้นจากองค์ความรู้จากงานวิจัยที่สะสมมากกว่าหนึ่งทศวรรษของวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากผู้บริหารองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาพัฒนาเป็นเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ และประเมินการบริหารงานองค์กรของตนเองที่มีความแตกต่างหรือคล้ายคลึงกันแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ สำหรับนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนเองให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

            เว็บไซต์ประกอบด้วยรายระเอียดของแนวทางการบริหารธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 7 สายงาน ได้แก่ การจัดการวัฒนธรรมองค์กร ต้องมีค่านิยมร่วมความดี ซึ่งก็คือความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และนวัตกรรม

            การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีการกำหนดสมรรถนะหลักตามค่านิยมร่วมแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกพนักงานใหม่ การพัฒนา การประเมินผล การทำงาน และการเลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ

            การจัดการการตลาด มึนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาสินค้าใหม่ที่ชัดเจน โดยนำความต้องการของลูกค้า คู่ค้า และบริบทของสังคม มาใช้พัฒนาสินค้าสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับมีระบบประเมินความพึงพอใจและการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า มีการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้พัฒนาสินค้า ที่สำคัญต้องตั้งราคาอย่างยุติธรรมตามกลไกการตลาดและรักษาความเป็นผู้นำทางการตลาดด้วยภาพลักษณ์และลักษณะของสินค้าที่เป็นประโยชน์และปลอดภัย

            การจัดการการผลิตและบริการ คำนึงถึงผู้อื่นรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เช่น ลูกค้า พนักงาน ผู้จัดหาวัตถุดิบ สิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน เพื่อให้มีการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดี พร้อมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบโรงงานหรือแหล่งผลิตสินค้า โดยลดของเสีย มลพิษ การสร้างเครือข่าย

            การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีแหล่งข้อมูลและคนรับผิดชอบอย่างชัดเจน

            การจัดการการเงินการลงทุน ไม่ใช้กลยุทธ์ตัดราคาเพื่อโจมตีตลาดของคู่แข่ง แต่ใช้ยุทธศาสตร์การลงทุนที่เข้าใจในแนวโน้มระยะยาว และต้องมีนโยบายปันผลกำไรเพื่อนำไปใช้ในโครงการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

            การจัดการความเสี่ยง มีวางแผนกำลังคน ประเมินศักยภาพ และพัฒนาพนักงาน รวมทั้งส่งเสริมความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และคณะทำงานประเมินความเสี่ยงในองค์กรอยู่ตลอดเวลา

            นอกจากข้อมูลรายละเอียดแนวทางการบริหารธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ภายในเว็บไซต์ยังมีฟังก์ชันการประเมินองค์กรด้วยตนเอง สำหรับนำไปเป็นแบบอย่างพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จำแนกตามสายงานธุรกิจหลัก 7 ลายงานข้างต้น” โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของแต่ละสายงานจากองค์กรตัวอย่างและนำพัฒนาเป็นแบบประเมินตนเองขององค์กรธุรกิจ

            แบบทดสอบในการประเมินตนเองนี้ถูกออกแบบในลักษณะเกณฑ์การประเมิน (Rubric) เพื่อให้เข้าใจง่าย และสะดวกในการรวมคะแนน เพื่อนำไปประมวลผล ผู้ที่สินใจสามารถลงทะเบียน เพื่อเข้าทำแบบทดสอบออนไลน์โดยคลิกที่ไอคอนทดลองประเมินองค์กรตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting