หลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา องค์กรธุรกิจที่ประสบปัญหาช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาองค์กรให้สามารถดำรงตนจนผ่านพ้นวิกฤตมาได้ ขณะเดียวกัน สังคมโลกก็มีการเปลี่ยนผ่านจากสังคมเศรษฐกิจสู่สังคมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดผลกระทบเชิงโครงสร้างในด้านลบต่างๆ มากมาย เนื่องจากมุ่งเน้นเรื่องของการเติบโตของเศรษฐกิจ เดิมที่ประเทศไทยเป็นสังคมแบบเกษตรดั้งเดิม อยู่กันง่ายๆ ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน แต่หลังจากมีกระแสโลกาภิวัตน์ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ทุกประเทศก็อยากไปสู่สังคมอุตสาหกรรมเพราะเห็นว่าการกินดีอยู่ดีน่าจะดีขึ้น ประเทศไทยก็เปลี่ยนจากยุค 0.1 ซึ่งเป็นสังคมเกษตรดั้งเดิม มาสู่ยุค 2.0 เริ่มเน้นเรื่องอุตสาหกรรมเบา โดยพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ เช่น แรงงานที่มีราคาถูก ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ มากมาย หลังจากนั้นเริ่มมีการลงทุนจากต่างประเทศเปิดรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาให้มากขึ้น จนเข้ายุค 3.0 แต่ในที่สุดแล้วกลับมีปัญหาเกิดขึ้นในมิติอื่นๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในมิติของสังคม สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้สูญหายไปไม่น้อย

Eiffel tower

"ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน : กระบวนทัศน์การพัฒนาสู้ประเทศไทย 4.0

            ตร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีที่ว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ‘ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาที่ยังยืน : กระบวนทัศน์การพัฒนาสู่ประเทศไทร 4.0’ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560 สรุปความว่า

ประเทศไทยในช่วงการเติบโตด้านอุตสาหกรรม(ประเทศไทยยุค 3.0) ดูเหมือนทันสมัยแต่กลับไม่พัฒนาเพราะ

  1. เราพึ่งพา เรายังยืมจมูกคนอื่นหายใจ เรายืมจมูกคนอื่นหายใจ 100% แสดงว่าเรามาสามารถเป็นตัวของเราเองได้
  2. เราทันสมัยแต่ไม่พัฒนาเพราะเรานำเทคโนโลยีคนอื่น นำการลงทุนคนอื่นมา แต่เราไม่ได้เรียนรู้ในการดูดซับและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเขา เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อยอด

  3.      ประเทศไทยยุค 3.0 ทำให้เราได้ประโยชน์มากมายเศรษฐกิจจะโตกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะติดอยู่ในกับดัก 3 ข้อได้แก่

                กับดักที่ 1 รายได้ปานกลาง เรารวยกว่านี้ไม่ได้เพราะเราติดอยู่ในกับรายได้ปานกลาง เรารวยกว่านี้ไม่ได้ถ้าเราไม่เปลี่ยนชีวิต

                กับดักที่ 2 ความเหลื่อมล้ำ เรารวยกว่านี้ไม่ได้ เพราะยังรวยกระจุกไม่ใช่รวยกระจาย นำไปสู่กับดักความเหลื่อมล้ำ คือ คน รวยขึ้นคนจนจนลง
                เรียกว่าจนกระจายรวยกระจุก

                กับดักที่  3 ความไม่สมดุล

    เรารวยนานกว่านี้หรือรวยยาวๆ ไม่ได้เพราะไม่มีความยั่งยืน

    การพัฒนาที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักความไม่สมดุล คือ มุ่งที่เรื่องของความมั่นคงของเศรษฐกิจเป็นสำคัญซึ่งแลกมาด้วยผลเสียมากต่อเรื่องของความอยู่ดีมีสุขทางสังคม ทางรักษาสิ่งแวดล้อม เรื่องของศักดิ์ศรีละภูมิปัญญามนุษย์  และเรื่องอื่นๆ คือกินก่อนจ่ายที่หลัง ไปทุ่มในเรื่องของเศรษฐกิจ แต่เกิดผลกระทบเชิงลบที่ตามมามากมาย

    ประเทศไทย 4.0 หนทางสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

                บทเรียนของกับดักทั้ง 3 ข้อนี้ รัฐบาล คสช. ต้องการนำปะเทศไปสู่ความมุ่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน คำถามคือการถอดรหัสวิสัยทัศน์ของรัฐบาลชุดนี้ ว่าด้วยความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต้องการถอดรหัสออกมาเป็นโมเดลที่นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริงจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นประเด็นที่ท่าทายมาก ตอนแรกเราบอกว่าทำไมต้องมีประเทศไทย 4.0 ก็เพราะโลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับและปรับอย่างไร ก็มาสู่โมเดลที่ตอบโจทย์สิ่งที่ทุกคนหรือรัฐบาลอยากจะไปคือ ความมั่นคง มั่งคั่ง และย่างยืน เพราะฉะนั้น ประเทศไทย 4.0 เป็นโมเดลที่นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

    หลังคิดของประเทศไทย 4.0 ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                เพราะแต่เดิมมาเราไม่สมดุลเราถึงติดอยู่ในกับดัก คือเราเทใจในเรื่องของเศรษฐกิจแต่เราไม่มองในมิติของเรื่องสังคมสิ่งแวดล้อม และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ด้วย เราพัฒนาประเทศโดยเน้นความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ณ วันนี้เรากำลังมองว่าเป็นกระบวนการทัศน์พัฒนาที่ผิดพลาด

    กระบวนทัศน์การพัฒนาที่ถูกต้อง

    1. การใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสิ่งที่เราเรียกว่า “การพัฒนาที่สมดุล” ที่มีความสมดุลระหว่างมิติทางด้านเศรษฐกิจ คือ เรื่องของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม คือ เรื่องของความอยู่ดีมีสุขทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านศักดิ์ศรีและภูมิปัญญามนุษย์ไปพร้อมๆกัน
    2. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอนให้เรารู้จัก “การพึ่งพาตัวเอง”แต่เราไม่ได้พึ่งพาตัวเอง 100% โลกในสมัยนี้พึ่งพาตนเองก็ไม่ทันกิน ต้องพึ่งพาตนเองในระดับหนึ่งเป็นบันไดขั้นแรกของปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ยันไดขั้นที่สองจากพึ่งพาตนเองมาพึ่งพากันเองแล้วรวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีหลัก

                พอเพียงในส่วนที่ซ่อนเรื่องของการสร้างสังคมที่ยืนอยู่บนขาของตนเองในระดับหนึ่งและสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปันหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Caring and Sharing Society” เพราะฉะนั้นบันไดสามขั้นของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเชื่อมต่อโดยไม่ต้องยืมจมูกของคนอื่นหายใจ 100% ต่ำพร้อมจะรวยกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง                Caring and Sharing Society ที่ช่อนอยู่ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ่งบอกอะไรบางอย่างถึงการเหลี่ยมล้ำเพราะเป็นเรื่องของการแบ่งบัน  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราอาจจะถามว่าความพอเพียงคืออะไร  หลายคนพูดถึงความพอเพียงในต่างระดับ บางคนเข้าใจว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเพียงแค่ตอบโจทย์เรื่องของเกษตรเรื่องของทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแค่ส่วนหนึ่ง

                ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาสากลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในบริบทของตนเอง องค์กรหรือประเทศหรือทั้งในระบบของโลก ความพอเพียงนั้น “เมื่อไม่พอพอต้องรู้จักเติม เมื่อพอแล้วต้องรู้จักหยุด แต่เมื่อมีเกินต้องรู้จักปัน” ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาในเชิงพลวัดคือ เป็น Dynamic Concept ของการรู้จัดพอ รู้จักเติม รู้จัดปัน เมื่อเรายังไม่พอเราจะบอกว่าพอเพียงไม่ได้ ให้เมื่อไม่พอก็ต้องทำให้พอ เติมด้วยองค์ความรู้ เติมด้วยความขยัน นี่คือเรื่องของพระมหาชนก หลายคนมองว่าพอเพียงมีเท่าไหร่ก็เอาแค่นี้ไม่ใช่ เพียงแต่ว่าในบางเรื่องไม่พอต้องรู้จักเติม เมื่อพอต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน

                หลักคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ถูกถอดรหัสออกมาและนำมาใช่อยู่ในประเทศไทย 4.0 ทั้งในระดับของปัจเจกและระดับของประเทศในระดับของประเทศ ประเทศไทย 4.0 นำแนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเต็มที่ คือมองว่าบทเรียนของประเทศไทย 3.0 เราเน้นอยู่กับการพึ่งพาเศรษฐกิจโลก อัตราการส่งออกเทียบกับ GDP ถึง 70-80% เมื่อเศรษฐกิจโลกดีเราก็  Happy แต่ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ดีเราก็ Suffer ณ วันนี้เราอยู่ในภาวะที่โลกผันผวน เพราะฉะนั้นประเทศไทย 4.0 จึงน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน แต่พร้อมกันนั้นเราไม่ต้องการที่จะปิดประเทศ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้คือ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งภายใน พร้อมกันนั้นก็เชื่อมโยนกับประชาคมโลกด้วย ในเวลาเดียวกัน เราจะไปอยู่กับโลกเราต้องเข้มแข็งก่อนถ้าเราอ่อนแอและเราไปอยู่กับโลกเราก็จะถูกเขาเอาเปรียบหรือถ้าโลกผันผวนเราก็จะเจ็บตัวแต่เมื่อไรก็ตามที่เรามีการสร้างความเข้มแข็งจากภายในที่เพียงพอและเราอาจจะฉลาดพอเมื่อโลกผันผวนเราก็อยู่ได้ด้วยตัวเองเราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาโลกเพียงอย่างเดียวเพราะฉะนั้นภายใต้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจึงถูกน้อมนำมากลายเป็น 2 แก่นยุทธศาสตร์ของประเทศไทย 4. 0 ด้วยกันคือ

                  1) สร้างความเข้มแข็งจากภายใน
                  2) การเชื่อมโยงกับประชาคมโลก

                นี่คือหลักคิดที่สำคัญของประเทศไทย 4. 0 ภายใต้การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถ้าพูดให้ชัดเจนขึ้นเรามีการสรุปบทเรียนบทเรียนที่สำคัญที่เราไปลอกแบบระบบทุนนิยมของต่างประเทศมาเราพยายามทำทุกอย่างที่โลกเขามีและทำตามโดยไม่คำนึงถึงบริบทภูมิสังคมของเราหรือการสร้างความเข้มแข็งที่เพียงพอนั้นนำมาสู่ 3 บทเรียนด้วยกัน

               ประเทศไทยยุค 3.0 ทำให้เราได้ประโยชน์มากมายเศรษฐกิจจะโตกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะติดอยู่ในกับดัก 3 ข้อได้แก่

                 1) เราสร้างความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติก็นำไปสู่ความไม่ยั่งยืน
                 2) เราสร้างความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์คือแก่งแย่งกันชิงดีแข่งขันเอารัดเอาเปรียบกันภายใต้การค้าเสรีระบบทุนนิยมที่เน้นการแข่งขันผลก็คือความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้นทุกที
                 3) เรามีความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีบางครั้งเรารับเทคโนโลยีเข้ามาเราถูกครอบงำด้วยเทคโนโลยีเรือบางครั้งเราไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยีนั่นคือระบบการศึกษาว่าทำไมเราถึงต้องยกเครื่องอย่างมากมายตรงนี้นำมาสู่เรื่องพรแปลกแยกที่มากขึ้นนี่คือประเด็นปัญหาที่เป็นรากฐานไม่เฉพาะประเทศไทยเกือบทุกประเทศทั่วโลกที่นำระบบทุนนิยมแบบเดิมมาแบบไม่ยั้งคิดก็นำมาสู่ความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์มนุษย์มนุษย์-ธรรมชาติและมนุษย์-เทคโนโลยี

    ทุนมนุษย์: หัวใจของการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4. 0

                สิ่งที่จะตอบโจทย์ที่กล่าวมา ทั้งหมดอยู่ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นอันดับแรกคือคนเราจะต้องเตรียม คนให้ไปสู่ศตวรรษที่ 21 ให้ได้ให้คนไทยเป็นพลเมืองที่มีความสมบูรณ์คือมีทั้ง Head, Hand, Health และ Heart เป็นคนไทยที่มีความสมบูรณ์ที่มีความรู้คู่คุณธรรมอยู่ในบริบท Global-Thai ไม่ใช่ Thai-Thai คือสามารถมีความเป็นไทยแต่มีศักดิ์ศรีอยู่ในโลกมนุษย์ร่วมกับประชาคมโลกได้พร้อมกันนั้นต้องไม่ใช่ Analog-Thai ต้องเป็น Digital-Thai เพื่อปรับตัวเข้ากับโลกยุคใหม่

                การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการที่จะนำพาประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศไทย


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting