2. นายจันทร์ที ประทุมภา ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชศรีมา

            นายจันทร์ที ประทุมภา เป็นเกษตรกรที่ได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการดำเนินทางสายกลางในการดำรงชีวิต และทำการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฏีใหม่นั้นโดยมีการแบ่งพื้นที่การใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่

            เงื่อนไขความรู้

            การยอมรับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสานเป็นประธานศูนย์อบรมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นวิทยากรร่วมกับวิทยากรเครือข่าย อบรมหลักสูตร “วปอ.ภาคประชาชน”

            เงื่อนไขคุณธรรม

            นำหลักธรรมมาใช้กับตนเองและครอบครัว ด้วยการยึดหลักคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญาและอดทน สมาชิกในครอบครัวไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งปวง ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นมีความสุข

            สร้างสังคมพอเพียงด้วยการ “เก็บแต่พอดี เหลือไปช่วยผู้อื่น” เป็นประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จ. นครราชสีมาและกลุ่มเครือข่ายทฤษฏีใหม่ มีเงินสวัสดิการให้สมาชิกยามเจ็บไข้ ป่วย ตาย ให้สมาชิกยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย รับฝากเงินโดยเก็บเงินสมาชิกแรกเข้า 100 บาท เป็นเวลา 5 ปีเป็นที่ปรึกษา ธ.ก.ส. ระดับประเทศ และร่วมเป็นสมาชิกที่ปรึกษากลุ่มต่างๆ ในชุมชน

            ความพอประมาน

            เรียนรู้ด้วยตนเองจากวิกฤตชีวิตที่ประสบภาวะหนี้สินต้องนำทรัพย์สินของตนเองออกขาย นำที่ดินไปจำนองและไปทำงานรับจ้างที่มาเลเซีย แต่ได้ใช้ความวิริยะทำงานหนักอดออม ภายในเวลา 1 ปี จึงมีเงินเก็บออมมาใช้หนี้และไถ่ที่นาคืนได้ ดำรงตนอย่างสมถะ มีที่ดินสำหรับทำเกษตรเลี้ยงชีพไม่มีภาระหนี้สิน โดยอาศัยแรงงานในครอบครัวผลิตอาหารไว้ทานเองในครอบครัว ให้ ‘พอมีพอกิน เหนือกินแจก’

            เริ่มต้นวิ๔เกษตรแบบผสมผสานตั้งแต่ พ.ศ.2534 จากการเรียนรู้จากแปลงเกษตรของพ่อผาย สร้อยสะกลาง โดยเริ่มจากการใช้ทุนที่มีอยู่กับตัว คือ ‘สองมือ’ และขุดสระน้ำ ทำให้เริ่มกักเก็บน้ำได้

            ความมีเหตุผล

            ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างหลากหลาย ใช้องค์ความรู้ปลูกพืชผลหลายชนิดรวมกัน เรียนง่ายไม่ติดตำรา ผสมผสานทุกส่วนให้เกิดความพึ่งพิงอิงกัน ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้ใช้สอย พืชผัก พืชสมุนไพร

            มีการวางแผนการปลูกพืชให้มีกินตลอดปี โดยการสำรวจความต้องการของกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งปลูกผัก ‘ทุกอย่างที่เขาซื้อกิน’ จากแหล่งตลาดในชุมชน

            มีรายได้รายวันจากพืชผัก รายเดือนจากปลา สัตว์เลี้ยงและรายปีจากไม้ยืนต้น ตลอดจนแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น กล้วย น้ำเสาวรส น้ำมะพร้าว และขยายพันธุ์พืชเอง

            การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

            ปิดรูรั่วด้วยการ ‘ทำแทนจ่าย’ สร้างความมั่นคงด้านอาหารด้วยการ ‘สะสมบำนาญชีวิตทีมีทั้งพืชผัก สมุนไพร ไม้ผล ไม้ยืนต้น’ มีกลุ่มเครือข่ายแลกเปลี่ยนแบ่งปันอาหารและรวมกันขายในตลาดชุมชน

            ไม่มีภาระหนี้สิน มีเงินออม ปลูกพืชสมุนไพรนำมาใช้รักษาโรคในครอบครัวและเผยแพร่ต่อผู้อื่นในชุมชน

            สร้างองค์ความรู้ของท้องถิ่น ผลิตตำราปลูกผักหวานบ้าน ผลิตปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชใช้เอง

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน

            1. ชุมชนบ้านดอกบัว

 

หมู่ 4 ต.บ้านตุ่น อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

บ้านบัว (ดอกบัว) มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ และอาชีพหัตถกรรมจัดสานแข่งไม้ไผ่ เป็นอาชีพที่ทำให้ประชากรในหมู่บ้านมีรายได้มาก

ผลิตภัณฑ์เด่นของหมู่บ้าน ได้แก่ ข้าว หญ้าแพงโกล่า ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ (เข่ง) ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ การทำนา

สำหรับนอกฤดูกาลทำนา ชาวบ้านบัวได้ใช้เวลาว่างประกอบอาชีพเสริมซึ่งสอดคล้องกับวิธีชีวิตและทรัพยากรในท้องถิ่น โดยใช้ต้นไผ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมาทำสุ่มไก่เข่ง ออกจำหน่าย ต่อมาชาวบ้านนิยมสานแข่ง สุ่มไก่กันมากขึ้น จึงขายได้ไม่มากเท่าที่ควร ทำให้มีแนวคิดในการรวบรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มจักสานแข่ง ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านบัวเป็นอย่างดีเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน ออกจำหน่ายแพร่หลายทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด

            เงื่อนไขความรู้

            นำหลักวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนประกอบอาชีพ ดำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยผู้นำชุมชนเข้าร่วมฝึกอาชีพ ดำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยผู้นำชุมชนเข้าร่วมฝึกอบรมพัฒนาความรู้ต่างๆ ที่มีประโยชน์สำหรับการประกอบอาชีพจากหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ได้แก่ การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย

            เนื่องจากชาวบ้านบ้านดอกบังนิลมเลี้ยงโคกันอย่างแพร่หลาย ผู้นำในหมู่บ้านรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการผลิตและใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและช่วยในการรักษาคุณภาพดิน ทำให้ลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีได้ปีละ 5,000 บาท

            เงื่อนไขคุณธรรม

            มีการให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันภายในชุมชน ได้แก่ มีเครือข่ายร่วมมือช่วยเหลือแบ่งปันกัน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัว เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมแข่งขันกีฬาในหมู่บ้านทุกปี

            มีการส่งเสริมและพัฒนาวัด ศาสนาสถาน หรือ แหล่งเรียน รู้ทางคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้แนวทางการส่งเสริมความรู้คู่คุณธรรม มีอาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือส่วนรวมด้วยจิตอาสาโดยไม่หลังค่าตอบแทน เช่น กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่ม อสม. ชรบ. การขยายผลในการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเป็นรูปธรรม และแสดงถึงคุณธรรมชัดเจนก็คือ การงดเหล้างานศพ ซึ่งถือเป็นกฎเคร่งครัดภายในชุมชน

            ความพอประมาณ

            มีการวิเคราะห์ถึงศักยภาพชุมชนและประชาชน อีกทั้งการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้พัฒนาชุมชนและมีการทดแทนกลับคืนให้กับชุมชน โดยยึดหลักความพอดี ไม่มากไปน้อยเกินไป ไม่เบียนตัวเองและผู้อื่น

            ความมีเหตุผล

            ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ความเข้าใจ แล้ว๗งตัดสินใจนำไปใช้ในการทำแผนพัฒนาชุมชน

            สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีการวางแผน รู้จักแยกแยะปัญหา อุปสรรคตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านั้น

            การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

            มีการเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทุกครัวเรือนมีการวางแผนการใช้จ่าย จัดทำบัญชีครัวเรือน ประหยัดและเก็บออม โดยเฉพาะชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ด้วยการรวบรวมกลุ่มและมีการจัดตั้งองค์กรช่วยเหลือคนในชุมชนยามเดือดร้อน เช่น กองทุนหมู่บ้าน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

            มีการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและรอบคอบที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน ได้แก่ การผลิตแก็สชีวภาพใช้เอง การปลูกป่าชุมชน การจัดการขยะด้วยการแยกขยะ การรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก และการออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

 


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting