การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง : ภาคครัวเรือนและชมชน

            ความพอเพียงในนิยามของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมิได้ หมายความเพียงแค่บุคคลพึ่งตนเองได้ (Self-Sufficiency) แต่เศรษฐกิจพอเพียง หรือ Sufficiency Economy มีความหมายกว้างมากกว่า เพราะเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แนวทางสำหรับปรับใช้ได้เฉพาะบุคคล หรือเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่การหยุดอยู่กับที่ แต่เศรษฐกิจพอเพียงใช่ได้ทั้งกับกลุ่มบุคคล ชุมชน มีความเป็นพลวัตสามารถพัฒนาได้ตามเหตุผลให้เหมาะสม กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสรุปได้เป็น 3 ระดับ คือ

            1. เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีพอกิน มีอาหาร สามารถสนองความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัย 4 ของครอบครัวได้ มีความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตที่ดีก่อน ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต ไม่ประมาท รู้จักการแบ่งปัน พึ่งตนเองและช่วยเหลือกันในครอบครัวได้

            เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนฝนสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศอย่างสมดุล เพื่อจะได้ละเว้นการประพฤติมิอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจหรือกระทำการใด ๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอเหมาะสมพอประมาณกับสถานภาพ บท บาท และหน้าที่ของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ และเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้จนสามารถทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

            2. เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ ยกระดับความพอเพียงเป็นระดับกลุ่ม มีการรวมตัวทั้งความคิด ความร่วมมือ ความช่วยเหลือส่วนรวม รักษาผลประโยชน์ภายในชุมชน มีการเรียนรู้และเปลี่ยนการจัดการ และแก้ไขปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน มุ่งเน้นความสามัคคีและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน


            3. เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวไกล ระดับสร้างเครือข่าย เน้นความร่วมมือระหว่างชุมชน กลุ่มองค์กรเอกชน หรือธุรกิจภายนอก โดยประสานงานให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล

1. นายประยงค์ รณรงค์ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
            ผู้นำชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช เป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยความคิด ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณธรรม เป็นผู้นำให้ชาวบ้านชุมชนไม้เรียงลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาของตนเองและของชุมชนโดยเริ่มจากแนวคิดหลักคือ “การพึ่งพาตนเอง” มีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาคและได้รับรางวัลมูลนิธิรามอนแมกไชไซ เมื่อ พ.ศ. 2547

            เงื่อนไขความรู้

            เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และสนใจศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา จึงทำให้รู้เห็นทันต่อความเคลื่อนไหวความเปลี่ยนแปลง และเกิดความคิดริเริ่มพัฒนาตนเองเป็นปัญญาชนท้องถิ่นที่มีส่วน สำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหากับชาวบ้าน โดยเฉพาะปัญหา เรื่องยางพารา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้

            มีการจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้าน สำหรับจัดทำแผนแม่บทชุมชน จึงพบว่า เกษตรกรในชุมชนบทเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรที่เป็นทุนของชุมชน ซึ่งรวมถึงทุนที่ไม่ใช่เงิน แต่มีคุณค่า เช่น ทุนที่เป็นทรัพยากร ผลผลิต ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางภูมิปัญญา และทุนทางสังคม ซึ่งจะเป็นจุดแข็งของชุมชน แต่ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ฝนการจัดการทุน ทำให้คนภายนอกชุมชนเข้ามาจัดการทุนของชุมชน ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับคนภายนอกชุมชน

            เงื่อนไขคุณธรรม

            เป็นผู้ยึดถือคุณธรรม ทั้งความเมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา มาเป็นเครื่องมือของการดำเนินชีวิต เมื่อประสบความสำเร็จก็ได้นำประสบการณ์ไปขยายผลให้ผู้อื่นที่สนใจไปแก้ปัญหาของเขาได้ กลายเป็นตัวอย่างต่อเนื่องไปกว้างขวางมากขึ้น

            มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง มีความสุข ความสงบตามอัตภาพ ทั้งตัวเองและครอบครัว มีเวลาและความอิสระในการคิด ทำ และร่วมมือกับผู้อื่น โดยให้ความเท่าเทียม ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น ทำสิ่งที่เกิดประโยชน์กับผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และเมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์แล้ว ก็จะทำจนสำเร็จไม่มีการท้อถอย

            ความพอประมาณ

            เเริ่มการพัฒนาด้วยการนำชาวบ้านให้รวมกลุ่มกัน พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตนเองและชุมชน โดยใช้แนวคิด “การพึ่งพาตนเอง” พึ่งพาความสามารถของตนเองให้อยู่รอดได้  เริ่มจากการเรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง และรู้จักชุมชนของตนเอง  วิเคราะห์ตนเองว่าเป็นใคร มีบทบาทหน้าที่และมีอาชีพอะไร  ทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่คืออะไร สิ่งแวดล้อมและบริบททางสังคมเป็นอย่างไร มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไร สนับสนุนให้ชาวบ้านจัดทำบัญชีครัวเรือน สำรวจรายรับรายจ่ายและรายบริโภคของครอบครัวชาวบ้าน และให้มีการจดบันทึกบัญชีไว้โดยละเอียด แล้วจึงวิเคราะห์แยกประเภทการใช้จ่าย ทำให้ชาวบ้านได้รู้จักตนเองเกี่ยวกับการโภคหรือการใช้จ่าย และสามารถพิจารณาตัดการใช้จ่ายจ่ายและรายบริโภคของครอบครัวชาวบ้าน และให้มีการจดบันทึกบัญชีไว้โดยละเอียด แล้วจึงวิเคราะห์แยกประเภทการใช้จ่าย ทำให้ชาวบ้านได้รู้จักตนเองเกี่ยวกับการโภคหรือการใช้จ่าย และสามารถพิจารณาตัดการใช้จ่ายสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ เมื่อควบคุมการใช้จ่ายได้ก็จะมีเงินเหลือมากขึ้น และพบว่าชุมชนต้องจ่ายเงินซื้อหาสินค้าจากที่อื่น ทำให้เกิดแนวคิดการประกอบอาชีพเกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน และเกิดระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบย่อย ๆ

            ความมีเหตุผล

            สรุปประสบการณ์ ทบทวนปัญหาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์อนาคต ทำให้พบว่าปัญหาของเกษตรกรในชุมชนอยู่อำนาจการจัดการด้านต่าง ๆ อาทิ การกำหนดคุณภาพ การกำหนดน้ำหนัก และการกำหนดราคา ตกอยู่ในมือของพ่อค้าหรือผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด ชุมชนไม้เรียงร่วมกันวางแผนสร้างแนวทางแก้ปัญหาให้กับตนเอง ตั้งแต่ระบบการผลิตการแปรรูป จัดการด้านการตลาด โดยการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง สร้างโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราเป็นยางแผ่นอบแห้งและยางแผ่นรมควัน ตามความต้องการของตลาดตั้งแต่พ.ศ. 2547 โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการทรัพยากรของชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดขั้นตอนที่เป็นภาระและค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก

            มีบทบาทในการจัดการระบบภายในชุมชน และการสร้างธุรกิจร่วมกันของเครือข่าย ยมนา (ยาง ไม้ผล นาข้าว) ใช้ระบบการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนทั้งในอาชีพเดียวกันและต่างอาชีพ จากเดิมที่เป็นการแลกเปลี่ยนข้าวซึ่งกันและกัน ได้พัฒนาความร่วมมือกันเป็นธุรกิจชุมชนในรูปของการจัดตั้งบริษัท และจากการเป็นผู้นำชุมชนที่มีประสบการณ์ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้เกิดความร่วมมือถือได้จากหลายฝ่ายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่างๆ

            การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

            ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนจัดทำการแผนแม่บทชุมชน ทำให้คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในเรื่องตัวเองและผลกระทบจากภายนอก ได้ข้อสรุปและนำข้อสรุปมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติเพื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ได้แนวทางในการแก้ปัญหาแนวทางพัฒนาให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นใหม่

            ร่วมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือของชุมชนที่จะใช้จัดการทุนของชุมชนโดยชุมชนเอง เพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกร กับองค์กรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์และอย่างเป็นธรรม โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้ผู้ที่สนใจต้องการในระบบวิสาหกิจชุมชน เรียนรู้การจัดการองค์กร สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน การคิดต้นทุน การวิเคราะห์สถานการณ์ การวิเคราะห์ตลาด การใช้ข้อมูลการใช้ประสบการณ์เสริมด้วยวิชาการ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตลาดความเสี่ยงและสร้างความมั่นคงของกิจกรรม ความอยู่รอดของชุมชน

 


เว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
Free Web Hosting